5f163af94125d337e964a06efead1ff5

ชื่อดีกับชื่อโดน แบบไหนจะรุ่งมากกว่ากัน ใครที่กำลังเริ่มธุรกิจใหม่ แล้วปวดหัวกับการตั้งชื่อบริษัทว่าจะไปทิศทางไหน ลองอ่าน 10 คำแนะนำนี้ ช่วยคุณได้!

1. อย่ารีบข้ามขั้นตอนไม่มีกฎตายตัวว่าต้องใช้เวลามากเท่าไหร่ในการตั้งชื่อบริษัท อาจจะนานเป็นเดือนๆ กว่าจะถูกใจ ชาลี ไมเนอร์ ผู้ก่อตั้ง ‘WorkOf’ บริษัทอีคอมเมิร์ซขายเฟอร์นิเจอร์และไฟแนะนำว่า “สิ่งสำคัญก็คือให้ทำส่วนอื่นของธุรกิจไปก่อนโดยไม่ต้องคิดถึงเรื่องการตั้งชื่อ เพื่อไม่ให้เรื่องนี้มารบกวนการเติบโตของธุรกิจคุณ สุดท้ายแล้วคุณก็จะคิดชื่อออกเอง”

2. นึกถึงคนอ่านชื่อของเว็บข้อมูลทางการเงิน CB Insights เดิมทีแล้วชื่อ “Chubby Brian” หรือ “ไบรอั้นจ้ำม่ำ” อนัน ซันวาล ผู้ร่วมก่อตั้งเล่าว่า เขาอยากได้ชื่อที่มันเท่ๆ พื้นๆ ฟังดูแล้วเหมือนธุรกิจสตาร์ทอัพ แต่สุดท้ายเขาก็ต้องเปลี่ยนชื่อ หลังจากธนาคารและลูกค้าของเขาได้เตือนว่าชื่อ “ไบรอั้นจ้ำม่ำ” จะอยู่บนเอกสารทางการเงินทุกอย่าง ซันวาลเริ่มคิดได้ว่า “คงไม่มีใครอยากจะเห็นชื่อคนจ่ายเงินว่า ‘ไบรอั้นจ้ำม่ำ’ หรอก เพราะชื่อมันดูเหมือนไม่มีเครดิตเอาซะเลย”

3. สะกดง่ายไม่ผิดถ้าจะใช้ตัวอักษรแปลกๆ หรือการสะกดไม่ตรงคำอย่างเช่น ‘Chick-fil-A’ แต่อย่าทำให้ชื่อบริษัทของคุณดูแปลกตาเกินไปจนไม่น่าจดจำ และทำให้คนอ่านสับสน ซันวาลเล่าว่า “ผมเคยเห็นชื่อของธุรกิจสตาร์ทอัพแห่งหนึ่ง อ่านแล้วไม่แน่ใจว่ามันมีตัว E สี่ตัวหรือสามตัวกันแน่?”

4. สั้นๆ ดีกว่ายาวเฟื้อยบริษัทใหญ่ๆ มักเลือกชื่อที่มีตัวอักษรระหว่าง 5 ถึง 10 ตัว และมีเสียงหนักอย่างน้อยหนึ่งเสียง อย่างเช่น Google (กูเกิ้ล) หรือ Starbucks (สตาร์บั๊ก) แต่ก็ไม่ใช่ทุกบริษัทที่จะสามารถมีชื่อสั้นๆ ง่ายๆ แต่ถ้าคุณคิดชื่อดีๆ ออกมาได้ทั้งชื่อยาวและชื่อสั้น ขอให้เลือกชื่อสั้นๆ จะดีกว่า ในทางกลับกันการตั้งชื่อโดเมนเนมสั้นๆ มักจะมีราคาสูงกว่า ฉะนั้นอย่าลืมเช็คดูว่าชื่อ URL ที่คุณอยากได้ยังว่างอยู่หรือเปล่า

5. ปัจจัยเกี่ยวกับ SEO (Search Engine Optimization)การทำให้บริษัทของคุณถูกค้นหาได้ง่ายใน search engine เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญในการตั้งชื่อ คุณต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อ SEO ด้วย ถ้าใช้คำนามธรรมดาๆ มาตั้งชื่ออย่างคำว่า “Bell” เพราะว่าคำธรรมดาทั่วๆ ไป จะทำให้การจัดลำดับการค้นหาของ Google ยากขึ้น แทนที่ผู้ใช้จะเจอบริษัทคุณในหน้าแรก แต่กลับเจอหน้าวิกิพีเดียเกี่ยวกับคำว่า ‘ระฆัง’ แทน

6. ระดมสมองเมื่อมีลิสต์ชื่อบริษัทของคุณแล้ว ลองเรียกคนอื่นๆ มาฟังความคิดเห็น แล้วดูการตอบสนองของเขาต่อชื่อต่างๆ เบิร์ดดีย์ โลเวอร์โร ผู้ร่วมก่อตั้งสถานีออนไลน์ QuadJobs ให้คำแนะนำว่า “ให้ทำสำรวจความคิดเห็นเรื่องชื่อให้มากที่สุด ชื่อที่ถูกเลือกไม่จำเป็นต้องเป็นชื่อที่คนชอบมากที่สุด แต่ขอให้เป็นชื่อที่คนจำได้มากที่สุด”

7. เผื่อทางเลือกไว้เสมอถ้าคุณต้องเปลี่ยนชื่อบริษัท เพราะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ ก็ไม่ต้องตกใจ มันไม่ใช่ปัญหาใหญ่โต แต่จะดีที่สุดถ้าคุณเปลี่ยนชื่อแล้วยังคงรักษาภาพลักษณ์และตัวตนของบริษัทที่คุณสร้างไว้ได้ โลแกน ชูการ์แมน ผู้ร่วมก่อตั้ง Refresh Body บริการ Outsource เทรนเนอร์ฟิตเนส ได้กล่าวว่า “คุณต้องตั้งเป้าว่าจะสร้างบางอย่างที่กว้างขวางพอที่จะตอบโจทย์อย่างเป็นธรรมชาติว่า คุณคือใคร และทำอะไรเพื่อลูกค้าหลัก แต่ยังเหลือพื้นที่ให้เติบโตในสาขาอื่นด้วย”

8. นึกถึงโทรศัพท์มือถือด้วยถ้าลูกค้าสามารถซื้อสินค้าผ่านทางแอพมือถือได้ คุณต้องนึกถึงด้วยว่าชื่อบริษัทของคุณจะเป็นอย่างไรใต้ไอคอนแอพนั้น ชื่อที่เป็นมิตรอย่าง Spotify ย่อมดูดีกว่าตัวย่อสามตัวซึ่งไม่ได้มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ของคุณเลย

9. อย่ามัวหมกมุ่นเรื่องความหมายของชื่อชื่อบริษัทไม่จำเป็นต้องแจงคุณสมบัติทั้งหมดของบริษัท บางครั้งการตั้งชื่อดีๆ ที่ทำให้ลูกค้าเห็นถึงสปิริตหรือความเป็นแบรนด์ของคุณเองก็เพียงพอแล้ว แต่อย่าตั้งชื่อที่ไม่ได้เกี่ยวกับบริษัทคุณ โดยเฉพาะชื่อที่ตรงข้ามกับสายธุรกิจของคุณเอง อย่างเช่นคำว่า ‘หม่ำหม่ำ’ ทำให้ลูกค้านึกถึงอาหาร ฉะนั้นอย่าใช้คำนี้ไปตั้งชื่อบริษัทที่เกี่ยวกับการเงินเด็ดขาด

10. ทำชื่อบริษัทให้เด่นสะดุดตาหลังจากเลือกชื่อได้แล้ว คุณควรจะเพิ่มลูกเล่นลวดลายให้กับชื่อบริษัทของคุณให้มากกว่าที่จะเป็นคำธรรมดาๆ เช่น ทำตัวพิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็กสลับกันไป เอาตัวอักษรสองตัวติดกัน หรืออะไรก็ได้ตามแต่จินตนาการ เพื่อให้โลโก้ชื่อบริษัทของคุณโดดเด่นแต่ดูสบายตา อย่างเช่น Casper ธุรกิจสตาร์ทอัพเกี่ยวกับที่นอน แม้โลโก้จะเขียนเป็นตัวอักษรธรรมดา แต่ปลายหัวของตัว C นั้นมีความโค้งนิดๆ เพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ

ที่มา : www.inc.com

 

Recommended Posts
Contact Us

We're not around right now. But you can send us an email and we'll get back to you, asap.

Start typing and press Enter to search