
หลังต้องต่อสู้กับวิกฤติโควิด-19 อันแสนยาวนาน อุตสาหกรรมด้านเฮลท์แคร์กลับต้องเผชิญวิกฤติอีกครั้ง กับการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกและการเพิ่มขึ้นของบุคลากรที่รู้สึกหมดไฟในการทำงาน เมื่อช่วงต้นปี 2022 ผลสำรวจพบว่า 1 ใน 2 หรือประมาณ 47% ของบุคลากรทางการแพทย์ รู้สึกหมดไฟในการทำงาน ซึ่ง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีเพียง 42%[1] เป็นเหตุให้บุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากตัดสินใจลาออกจากสายอาชีพ สวนทางกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น จนหลายๆ โรงพยาบาลต่างเป็นกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้โรงพยาบาลไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอ
ผู้ให้บริการด้านเฮลท์แคร์กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์?

เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ เพราะปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์มีมาตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 แต่ทวีความรุนแรงมากขึ้นหลังจากที่บุคลากรทางการแพทย์เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานในช่วงของการระบาดของโควิด-19 โดยวงการเฮลท์แคร์ ถือเป็นหนึ่งในสามอันดับของวงการที่มีการลาออกจากงานมากที่สุด ด้วยเหตุผลต้องการความสมดุลของชีวิตการทำงาน และต้องการเวลาส่วนตัวมากขึ้น จากการสำรวจล่าสุดของ American Medical Association พบว่า 1 ใน 5 ของแพทย์ และ 2 ใน 5 ของพยาบาล ตั้งใจว่าจะลาออกจากสายอาชีพภายใน 2 ปีข้างหน้า
ความจำเป็นของระบบ AI ที่ยึดบุคลากรเป็นศูนย์กลาง
แน่นอนว่าเทคโนโลยี AI ไม่เพียงแต่เป็นหนึ่งในตัวช่วยในการลดภาระงาน และลดอัตราการลาออกของบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น แต่เทคโนโลยี AI ยังสามารถช่วยยกระดับวงการเฮลท์แคร์ได้อีกมาก ทั้งการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาทางคลีนิก
ที่สำคัญที่สุด ในการขจัดภาวะหมดไฟและสร้างความสุขในการทำงานให้บุคลากรทางการแพทย์ เราจำเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลที่รองรับการดูแลรักษาระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้บริการอย่างเต็มที่ และจำเป็นต้องบูรณาการกระบวนการทำงาน เพื่อประยุกต์เทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในวงกว้าง และความจำเป็นที่จะต้องออกแบบการใช้งาน AI โดยยึดบุคลากรเป็นศูนย์กลาง การออกแบบโซลูชั่นที่ใช้ AI ต้องคำนึงถึงการนำไปใช้งานของบุคลากรเป็นสำคัญ