Gareth Walkom นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Nottingham Trent University กำลังศึกษางานอยู่หนึ่งชิ้นเรื่อง Virtual Reality Exposure Therapy: VRET เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี VR มาบำบัดรักษาอาการติดอ่างและโรคกังวลต่อการเข้าสังคม ซึ่งตัวเขาเองก็มีอาการติดอ่างมาตั้งแต่อายุ 6 ขวบ

Gareth กล่าวว่า VR Headset ที่เขาใช้ศึกษาอยู่นั้นจะสร้างบุคคลจำลองขึ้นมา เพื่อให้เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย พร้อมกับมีระบบติดตามการมอง (Eye tracking) โดยเราสามารถรับรู้ได้ว่าเรากำลังมองอะไรอยู่และมีพฤติกรรมการใช้ดวงตาอย่างไร

การใช้ VRET จะช่วยบำบัดปรับพฤติกรรมการกระพิบตาถี่เมื่อพูดติดอ่าง และลดอาการการมองล่อกแล่กของผู้ที่มีอาการติดต่างด้วย

เขาหวังว่า VRET ที่เขาศึกษาอยู่นั้นจะสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง สามารถช่วยให้ผู้ที่มีอาการติดอ่างมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นและลดอาการกังวลเมื่อต้องเข้าสังคม

เรียกได้ว่าแว่น VR ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่เป็นอุปกรณ์สร้างความบันเทิง เช่น ชมภาพยนตร์ หรือ เล่นเกม เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้ด้านการรักษาได้ด้วย น่าสนใจว่าในอนาคต เราจะได้เห็นคนที่ทำเทคโนโลยี VR ไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในแง่มุมไหนได้อีกบ้าง

เรียบเรียงจาก: BBC

Recent Posts
Contact Us

We're not around right now. But you can send us an email and we'll get back to you, asap.

Start typing and press Enter to search